ไดโอนิซัส (dionysus) หรือ แบกคัสตาม
เป็นเทพที่ได้รับการยกย่ององค์หนึ่งในคณะเทพโอลิมเปียน
และยังเป็นที่นับถือกันอย่างแพร่หลายในฐานะเทพผู้พบและผู้ครองผลองุ่น
อีกทั้งยังเป็นเทพผู้ครองน้ำองุ่น ตลอดจนความมึนเมาเนื่องด้วยการดื่มน้ำองุ่นด้วย
ตำนานของ ไดโอนิซัส เริ่มต้นจากการเป็นบุตรของซูสเทพบดี กับนางสีมิลีผู้เป็นธิดาของแคดมัสผู้สร้างเมืองธีบส์ และนางเฮอร์ไมโอนี ต้นกำเนิดของเทพไดโอนิซัสไม่ได้เป็นเรื่องที่ดีมากนัก และนับว่าน่าสงสารมากทีเดียว เพราะเธอนั้นเกิดมาด้วยเพราะความหึงหวงของเจ้าแม่ฮีรา ดังที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
เมื่อตอนที่เทพปริณายกซูสได้แอบไปมีความสัมพัทธ์พิศวาสกับนางสีมิลี โดยเทพซูสได้จำแลงองค์ลงมาเป็นชายหนุ่มปกติและลงมาแทะโลมและร่วมสมสู่ด้วย และแม้ว่านางสีมิลีจะรับรู้เพียงแต่คำบอกเล่าของมานพผู้นี้ แต่ก็ไม่มีอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่ามานพผู้นี้คือเทพซูสจริง อย่างไรก็ตาม นางสีมิลีก็พึงพอใจและยินดีในความรักครั้งนี้ โดยไม่ได้คิดติดใจแต่ประการใด แต่ไม่ช้าเรื่องราวความรักของทั้งคู่ระหว่างซูสเทพบดีกับนางสีมิลี ก็เกิดแพร่งพรายไปถึงหูเจ้าแม่ฮีรา เจ้าแม่รู้สึกหึงหวงในตัวสามีของเธอมาก จึงมุ่งมั่นที่จะยุติเรื่องนี้เสียที ว่าแล้วนางก็จึงจำแลงกายงมาเป็นนางพี่เลี้ยงแก่ของนางสีมิลี และลอบเข้าไปในห้องของนาง พี่เลี้ยงแก่ตัวปลอมพยายามชวนนางสีมิลีคุยเรื่องต่างๆนานาและชักโยงไปถึงเรื่องความรักของนาง และได้กล่าวให้นางคล้อยตามเกี่ยวกับประวัติอันน่าสงสัยของชายผู้เป็นสามี เพื่อให้นางเกิดความรู้สึกสงสัยว่าชายคนดังกล่าวเป็นเทพซูสจำแลงลงมาจริงหรือ โดยบอกให้ชายผู้นั้นปรากฏกายในรูปลักษณ์จริงๆของเทพเจ้าให้นางสีมิลีเห็น ซึ่งนางสีมิลีก็หลงเชื่อในคำแนะนำ และตกลงที่จะทำตามคำกล่าวที่พี่เลี้ยงแก่ชี้ทาง
เมื่อซูสเสด็จลงมาหานางสีมิลีอีกครั้ง นางจึงพยายามหว่านล้อมให้ไท้เธอสาบาน โดยอ้างถึงแม่น้ำสติกซ์ให้เป็นทิพยพยานว่าไท้เธอจะโปรดประทานอนุญาตตามคำที่นางขอหนึ่ง ประการ เมื่อไท้เธอได้สาบานแล้ว นางจึงทูลความประสงค์ให้ซูสเทพบดีทราบ ซึ่งทำให้ไท้เธอถึงแก่ตกตะลึงเพราะไม่คิดว่านางจะทูลขอในเรื่องนี้ แต่ไท้เธอก็ตระหนักในความจริงข้อหนึ่งดีว่า หากไท้เธอสำแดงองค์จริงให้นางสีมิลีเห็น จะทำให้นางสีมิลีที่เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก แต่ไท้เธอก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสาบานที่เธอได้ออกปากไปอย่าง เคร่งครัดโดยไม่สามารถบ่ายเบี่ยงได้ เพราะหากละเมิดต่อคำสาบานที่อ้างถึงแม่น้ำสติกซ์อันศักดิ์สิทธิ์เป็นทิพยพยาน ย่อมบังเกิดผลร้ายต่อเทพผู้สาบานทุกองค์ไม่เว้นแม้แต่องค์เทพบดีซูสเองสุดท้าย เทพซูสก็ตัดสินใจเนรมิตองค์จริงให้ปรากฏต่อหน้านางสีมิลี เมื่อนางสีมิลีได้เห็นภาพจริงของไท้เธอแล้วด้วยสายตาอันพร่าพราว นางก็เกินจะทนต่อทิพยอำนาจของไท้เธอได้ และในชั่วพริบตาเดียวก็บังเกิดเป็นกองไฟลุกขึ้นเผาผลาญกายนางจนวอดวายกลายเป็นจุณไป ทำให้นางถึงแก่ความตายไปในที่สุด ซึ่งในขณะนั้น นางสีมิลีจะกำลังทรงครรภ์อยู่ และแม้ว่าเทพซูสจะไม่อาจจะช่วยเหลือชีวิตของนางไว้ได้ แต่ก็ยังสามารถช่วยชีวิตบุตรของไท้เธอออกมาจากกองไฟได้ทันเวลา จากนั้นก็เก็บทารกเอาไว้ในต้นชานุมณฑลของไท้เธอเอง เมื่อครบเวลากำหนดคลอด ทารกก็สามารถคลอดออกมาได้สำเร็จจากต้นชานุมณฑลของไท้เธอ จากนั้น เทพซุสก็ได้มอบทรากของตนให้นางอัปสรพวกหนึ่งที่มีชื่อว่า ไนสยาดีส (Nysiades) เป็นผู้เลี้ยงดูอนุบาล ซึ่งนางอัปสรพวกนี้ก็ได้เลี้ยงดูเอาใจใส่ทารกผู้น้อยนี้เป็นอย่างดีด้วยความรักใคร่ทะนุถนอม ส่งผลให้เทพซุสโปรดเนรมิตให้พวกเธอได้กลายเป็นกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ไฮยาดีส (Hyades) ส่วนทารกน้อยที่นางอัปสรช่วยเลี้ยงดู มีมีนามว่า ไดโอนิซัส หรือ แบกคัส นั่นเอง
แม้ว่าต้นกำเนิดที่แท้จริงของไดโอนิซัสจะเป็นเพียงกึ่งมนุษย์กึ่งเทพ แต่ไดโอนิซัสก็ได้รับการยอมรับให้เป็นเทพอย่างสมบูรณ์เหมือนกับเทพองค์อื่นๆ อีกทั้งยังมีอมฤตภาพไม่แตกต่างไปจากเหล่าเทพสภาอื่น ๆ บนสวรรค์ชั้นโอลิมปัสด้วย อย่างไรก็ตาม ไดโอนิซัสหลงรักในการเดินทางท่องเที่ยวไปบนผืนดินอันกว้างใหญ่เป็นชีวิตจิตใจ และไม่ว่าจะไปทางไหนก็ทรงนพาความชุ่มชื้นแห่งสุราเมรัยติดไปด้วย จึงทำให้เกิดเป็นกลุ่มบุคคลสองกลุ่มที่เคารพและเหยียดนามไดโอนิซัส สำหรับคนที่มองเห็นถึงคุณงามความดีของไดโอนิซัส ก็จะพากันเคารพนับถือ แต่สำหรับคนใดที่ดูถูกเหยียดหยาม ก็มักถูกลงโทษเสมอ แต่ในครั้งที่ไดโอนิซัสเพิ่งจะดำรงตำแหน่งเทพ ทำให้ไดโอนิซัสไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จในการทำให้ผู้คนหันมานับถือตนเองเสียเท่าไร แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า คุณและโทษของเธอก็เริ่มประจักษ์ชัดเจนขึ้น ทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่หันมาทำความเคารพนับถือ และร่วมกันสร้างวิหารถวายแด่เทพเมรัยองค์นี้เป็นการใหญ่
ว่ากันว่า ไดโอนิซัส เป็นเทพที่ทำให้พื้นดินเต็มไปด้วยองุ่นรสเลิศที่ล้วนแต่มีคุณประโยชน์มากมาก ทั้งประโยชน์ด้านความอิ่มหนำสำหรับ และความชื่นบานเมื่อได้บริโภค แต่ก็มีหลายครั้งหลายหน ที่ไดโอนิซัสทำให้ผู้คนกลายเป็นคนวิกลจริตไปได้ ดังตัวอย่างของสตรีกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เมนาดส์ (Maenads) พวกเขาเหล่านี้ถูกพิษของเมรัยเล่นงาน จนทำให้เป็นบ้าเสียสติไปเสียทุกคน พวกนางต่างพากันกระโดดโลดเต้น และร้องรำทำเพลงไปตามป่าอย่างไร้สติด้วยอำนาจของสุรา และบางครั้งก็เข้ามาห้อมล้อมเพื่อติดสอยห้อยตามไดโอนิซัสไปด้วย ในยุคโรมัน หลังจากที่ไดโอนิซัสได้มีนามเป็นภาษาละตินว่า แบกคัส (Bacchus) คณะนางผู้เสียสติที่รอบล้อมไดโอนิซัส ก็ได้รับชื่อใหม่ว่า แบกคันทีส(Bacchantes) เช่นกัน ซึ่งภาพของเทพองค์นี้ก็มักจะเป็นภาพที่แสนประหลาดกว่าเทพองค์อื่นๆ เพราะจะเห็นเป็นชายหนุ่มรูปงามที่แวดล้อมไปด้วยผู้หญิงบ้าตามติดไปตลอดการเดินทาง
เมื่อกล่าวถึงเรื่องราวความรักของไดโอนิซัส ก็มีอยู่บ้างแต่มักเป็นความรักที่ไม่ได้ลงเอยด้วยความสุขเสียเท่าไร กล่าวคือ ตอนที่ไดโอนิซัสไปพบกับอาริแอดนี่ (Ariadne) ธิดาเจ้ากรุงครีตที่มีนามว่าท้าวไมนอส และได้ช่วยเหลือนางเอาไว้ เรื่องราวเริ่มต้นจากที่ท้าวไมนอสได้เลี้ยงอสูรร้ายตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า มิโนทอร์ เอาไว้ใต้ดิน และเมื่อวีรบุรุษธีลิอัสได้เดินทางไปยังครีต ก็ได้ตกเป็นเหยื่อแก่มิโนทอร์ อาริแอดนี่เองก็เกิดมีใจหลงรักกับเจ้าชายหนุ่ม จึงพยายามหาทางช่วยเหลือ และสามารถพาหนีออกเกาะครีตได้สำเร็จ แต่ทว่านางอาริแอดนี่กลับถูกทอดทิ้งเอาไว้อย่างเดียวดายบนเกาะร้างแห่งหนึ่งเพียงลำพัง ซึ่งพอดีที่ไดโอนิซัสผ่านไปพบเข้า จึงเกิดความสงสารและหลงรักนาง แต่ความรักที่มีก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะสุดท้ายนางอาริแอดนี่ก็สิ้นชีวิตลงในที่สุด ทำให้ไดโอนิซัสรู้สึกเสียใจอย่างหนัก และไม่คิดจะไม่มีรักใหม่อีกเลย
ส่วนชีวิตของไดโอนิซัสเองนั้นก็แสนเศร้าพอๆ กับความรักของตัวเอง เพราะคงไม่มีใครคิดหรอกว่า เทพไดโอนิซัสผู้มีกายเป็นอมฤตภาพ จะมีโอกาสสิ้นใจตายได้เช่นกัน เรื่องเล่านี้ถูกถ่ายทอดโดยนักกวีชาวกรีกโบราณที่เขียนขึ้นตามความเป็นจริงของต้นองุ่น เรื่องเล่ามีอยู่ว่า
เมื่อถึงฤดูกาลเก็บองุ่น ชาวบ้านจะตัดเอากิ่งองุ่นที่เคยติดเต็มต้นออกไปหมด และเหลือเอาไว้แต่เพียงต้นองุ่นเดี่ยวๆ ซึ่งมองดูน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะเห็นเพียงลำต้นลุ่น ๆ ปราศจากกิ่งก้านสาขา แต่เพียงไม่นาน ต้นองุ่นก็จะค่อย ๆฟื้นตัวก และแตกแยกกิ่งก้านและใบออกมาใหม่อย่างสวยงาม และต่อจากนั้นไม่นานก็จะผลิดอกออกผลมาเป็นที่เจริญตาอย่างยิ่ง ซึ่งก็เปรียบเหมือนตามตำนานของเทพไดโอนิซัส กล่าวคือ เทพไดโอนิซัสเคยถูกยักษ์เผ่าวงศ์ไทแทนรุมทำร้ายอย่างโหดร้ายน่าสยองขวัญ ไดโอนิซัสถูกยักษ์ฉีกร่างออกเป็นชิ้น ๆ เปรียบดั่งต้นองุ่นที่ถูกตัดกิ่งก้านสาขา แต่ไม่นานนัก เทพไดโอนิซัสก็สามารถฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้ง และในเวลาที่เธอฟื้นขึ้นมาจากความตายนี่เอง ที่ทำให้ทั้งเทวดาและมนุษย์ต่างพาก็ชื่นชมยินดี และร่วมจัดงานเฉลิมฉลองกันอย่างรื่นเริงเพื่อรับขวัญกันอย่างเอิกเกริก ซึ่งการฟื้นจากความตายครั้งนี้ก็เพราะไดโอนิซัสได้ช่วยเหลือจากมารดาที่เธอไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน ให้สามารถรอดพ้นจากเงื้อมือของยมเทพได้ และนำเธอขึ้นไปสถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นโอลิมปัสได้อย่างปลอดภัย
เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อ เทพไดโอนิซัสได้พยายามติดตามหามารดาไปจนถึงปรโลก ซึ่งเมื่อได้พบแล้ว เธอก็พยายามขอมารดาคืนจากยมเทพฮาเดส แต่มัจจุราชก็ไม่ยินยอมที่จะคืนให้ ทำให้เกิดปากเสียงโต้เถียงกันขึ้น ว่าใครนั้นมีอำนาจที่เหนือกว่า ไดโอนิซัสเปล่งวาจาออกไปคำเดียวว่า ตนนั้นมีอำนาจที่เหนือกว่ามัจจุราช เพราะสามารถจะตายและฟื้นคืนชีพได้อีก ซึ่งไม่เคยมีเทพองค์ใดสามารถทำได้อย่างไดโอนิซัสเลย ซึ่งเทพฮาเดสก็เห็นด้วยตามคำพูดของไดโอนิซัส จึงยอมปล่อยตัวนางสิมิลีให้แก่บุตรชายและปล่อยให้พาตัวออกจากแดนบาดาลไปอย่างปลอดภัย จากนั้น เทพไดโอนิซัสก็ได้พาตัวมารดากลับขึ้นสวรรค์ชั้นโอลิมปัส โดยมีเหล่าเทพน้อยใหญ่คอยต้อนรับนางสิมิลีเป็นอย่างดี และนางสีมิลีก็เป็นหญิงอมตะผู้เดียวที่สามารถอาศัยอยู่ท่ามกลางเหล่าเทพทั้งปวง โดยที่ฮีร่าเทวีไม่สามารถทำร้ายอะไรนางได้อีกต่อไป
เทพไดโอนิซัส (Dionysus) หรือ Dionysos หรือ Bacchus ในเทพนิยายกรีกและโรมัน ถือเป็นทั้งเทพเจ้าแห่งไวน์ รวมถึงเป็นเทพผู้นำความเจริญด้านอารยธรรม(Civilization) , ผู้กำหนดกฏระเบียบ(Lawgiver) , ผู้รักในสันติภาพ (Lover of Peace) และเป็นผู้รวบรวมเอาความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร (Agriculture) มาไว้ด้วยกัน และยังเป็นเทพที่มีความสำคัญในการละคร (Theater) ด้วย และในบางแห่งก็ขนานนามเทพองค์นี้ว่า “The god of cats and savagery” หรือ “เทพแห่งเหล่าหญิงเลวและคนป่าเถื่อน”
สัญลักษณ์แห่งเทพไดโอนิซัส ก็คือ วัวตัวผู้(Bull), งูใหญ่(Serpent), ต้นไอวี่ และไวน์ (The ivy and wine) และมีพาหนะเป็นเสือดาว ดังจะเห็นภาพของไดโอนิซัสที่มักจะออกมาในรูปของเทพผู้ขี่เสือดาว (Leopard) สวมใส่อาภรณ์เป็นหนังเสือดาว หรืออาจเป็นเทพผู้ทรงราชรถที่ถูกชักลากโดยเสือดำ(Panthers)
ตำนานของ ไดโอนิซัส เริ่มต้นจากการเป็นบุตรของซูสเทพบดี กับนางสีมิลีผู้เป็นธิดาของแคดมัสผู้สร้างเมืองธีบส์ และนางเฮอร์ไมโอนี ต้นกำเนิดของเทพไดโอนิซัสไม่ได้เป็นเรื่องที่ดีมากนัก และนับว่าน่าสงสารมากทีเดียว เพราะเธอนั้นเกิดมาด้วยเพราะความหึงหวงของเจ้าแม่ฮีรา ดังที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
เมื่อตอนที่เทพปริณายกซูสได้แอบไปมีความสัมพัทธ์พิศวาสกับนางสีมิลี โดยเทพซูสได้จำแลงองค์ลงมาเป็นชายหนุ่มปกติและลงมาแทะโลมและร่วมสมสู่ด้วย และแม้ว่านางสีมิลีจะรับรู้เพียงแต่คำบอกเล่าของมานพผู้นี้ แต่ก็ไม่มีอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่ามานพผู้นี้คือเทพซูสจริง อย่างไรก็ตาม นางสีมิลีก็พึงพอใจและยินดีในความรักครั้งนี้ โดยไม่ได้คิดติดใจแต่ประการใด แต่ไม่ช้าเรื่องราวความรักของทั้งคู่ระหว่างซูสเทพบดีกับนางสีมิลี ก็เกิดแพร่งพรายไปถึงหูเจ้าแม่ฮีรา เจ้าแม่รู้สึกหึงหวงในตัวสามีของเธอมาก จึงมุ่งมั่นที่จะยุติเรื่องนี้เสียที ว่าแล้วนางก็จึงจำแลงกายงมาเป็นนางพี่เลี้ยงแก่ของนางสีมิลี และลอบเข้าไปในห้องของนาง พี่เลี้ยงแก่ตัวปลอมพยายามชวนนางสีมิลีคุยเรื่องต่างๆนานาและชักโยงไปถึงเรื่องความรักของนาง และได้กล่าวให้นางคล้อยตามเกี่ยวกับประวัติอันน่าสงสัยของชายผู้เป็นสามี เพื่อให้นางเกิดความรู้สึกสงสัยว่าชายคนดังกล่าวเป็นเทพซูสจำแลงลงมาจริงหรือ โดยบอกให้ชายผู้นั้นปรากฏกายในรูปลักษณ์จริงๆของเทพเจ้าให้นางสีมิลีเห็น ซึ่งนางสีมิลีก็หลงเชื่อในคำแนะนำ และตกลงที่จะทำตามคำกล่าวที่พี่เลี้ยงแก่ชี้ทาง
เมื่อซูสเสด็จลงมาหานางสีมิลีอีกครั้ง นางจึงพยายามหว่านล้อมให้ไท้เธอสาบาน โดยอ้างถึงแม่น้ำสติกซ์ให้เป็นทิพยพยานว่าไท้เธอจะโปรดประทานอนุญาตตามคำที่นางขอหนึ่ง ประการ เมื่อไท้เธอได้สาบานแล้ว นางจึงทูลความประสงค์ให้ซูสเทพบดีทราบ ซึ่งทำให้ไท้เธอถึงแก่ตกตะลึงเพราะไม่คิดว่านางจะทูลขอในเรื่องนี้ แต่ไท้เธอก็ตระหนักในความจริงข้อหนึ่งดีว่า หากไท้เธอสำแดงองค์จริงให้นางสีมิลีเห็น จะทำให้นางสีมิลีที่เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก แต่ไท้เธอก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสาบานที่เธอได้ออกปากไปอย่าง เคร่งครัดโดยไม่สามารถบ่ายเบี่ยงได้ เพราะหากละเมิดต่อคำสาบานที่อ้างถึงแม่น้ำสติกซ์อันศักดิ์สิทธิ์เป็นทิพยพยาน ย่อมบังเกิดผลร้ายต่อเทพผู้สาบานทุกองค์ไม่เว้นแม้แต่องค์เทพบดีซูสเองสุดท้าย เทพซูสก็ตัดสินใจเนรมิตองค์จริงให้ปรากฏต่อหน้านางสีมิลี เมื่อนางสีมิลีได้เห็นภาพจริงของไท้เธอแล้วด้วยสายตาอันพร่าพราว นางก็เกินจะทนต่อทิพยอำนาจของไท้เธอได้ และในชั่วพริบตาเดียวก็บังเกิดเป็นกองไฟลุกขึ้นเผาผลาญกายนางจนวอดวายกลายเป็นจุณไป ทำให้นางถึงแก่ความตายไปในที่สุด ซึ่งในขณะนั้น นางสีมิลีจะกำลังทรงครรภ์อยู่ และแม้ว่าเทพซูสจะไม่อาจจะช่วยเหลือชีวิตของนางไว้ได้ แต่ก็ยังสามารถช่วยชีวิตบุตรของไท้เธอออกมาจากกองไฟได้ทันเวลา จากนั้นก็เก็บทารกเอาไว้ในต้นชานุมณฑลของไท้เธอเอง เมื่อครบเวลากำหนดคลอด ทารกก็สามารถคลอดออกมาได้สำเร็จจากต้นชานุมณฑลของไท้เธอ จากนั้น เทพซุสก็ได้มอบทรากของตนให้นางอัปสรพวกหนึ่งที่มีชื่อว่า ไนสยาดีส (Nysiades) เป็นผู้เลี้ยงดูอนุบาล ซึ่งนางอัปสรพวกนี้ก็ได้เลี้ยงดูเอาใจใส่ทารกผู้น้อยนี้เป็นอย่างดีด้วยความรักใคร่ทะนุถนอม ส่งผลให้เทพซุสโปรดเนรมิตให้พวกเธอได้กลายเป็นกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ไฮยาดีส (Hyades) ส่วนทารกน้อยที่นางอัปสรช่วยเลี้ยงดู มีมีนามว่า ไดโอนิซัส หรือ แบกคัส นั่นเอง
แม้ว่าต้นกำเนิดที่แท้จริงของไดโอนิซัสจะเป็นเพียงกึ่งมนุษย์กึ่งเทพ แต่ไดโอนิซัสก็ได้รับการยอมรับให้เป็นเทพอย่างสมบูรณ์เหมือนกับเทพองค์อื่นๆ อีกทั้งยังมีอมฤตภาพไม่แตกต่างไปจากเหล่าเทพสภาอื่น ๆ บนสวรรค์ชั้นโอลิมปัสด้วย อย่างไรก็ตาม ไดโอนิซัสหลงรักในการเดินทางท่องเที่ยวไปบนผืนดินอันกว้างใหญ่เป็นชีวิตจิตใจ และไม่ว่าจะไปทางไหนก็ทรงนพาความชุ่มชื้นแห่งสุราเมรัยติดไปด้วย จึงทำให้เกิดเป็นกลุ่มบุคคลสองกลุ่มที่เคารพและเหยียดนามไดโอนิซัส สำหรับคนที่มองเห็นถึงคุณงามความดีของไดโอนิซัส ก็จะพากันเคารพนับถือ แต่สำหรับคนใดที่ดูถูกเหยียดหยาม ก็มักถูกลงโทษเสมอ แต่ในครั้งที่ไดโอนิซัสเพิ่งจะดำรงตำแหน่งเทพ ทำให้ไดโอนิซัสไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จในการทำให้ผู้คนหันมานับถือตนเองเสียเท่าไร แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า คุณและโทษของเธอก็เริ่มประจักษ์ชัดเจนขึ้น ทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่หันมาทำความเคารพนับถือ และร่วมกันสร้างวิหารถวายแด่เทพเมรัยองค์นี้เป็นการใหญ่
ว่ากันว่า ไดโอนิซัส เป็นเทพที่ทำให้พื้นดินเต็มไปด้วยองุ่นรสเลิศที่ล้วนแต่มีคุณประโยชน์มากมาก ทั้งประโยชน์ด้านความอิ่มหนำสำหรับ และความชื่นบานเมื่อได้บริโภค แต่ก็มีหลายครั้งหลายหน ที่ไดโอนิซัสทำให้ผู้คนกลายเป็นคนวิกลจริตไปได้ ดังตัวอย่างของสตรีกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เมนาดส์ (Maenads) พวกเขาเหล่านี้ถูกพิษของเมรัยเล่นงาน จนทำให้เป็นบ้าเสียสติไปเสียทุกคน พวกนางต่างพากันกระโดดโลดเต้น และร้องรำทำเพลงไปตามป่าอย่างไร้สติด้วยอำนาจของสุรา และบางครั้งก็เข้ามาห้อมล้อมเพื่อติดสอยห้อยตามไดโอนิซัสไปด้วย ในยุคโรมัน หลังจากที่ไดโอนิซัสได้มีนามเป็นภาษาละตินว่า แบกคัส (Bacchus) คณะนางผู้เสียสติที่รอบล้อมไดโอนิซัส ก็ได้รับชื่อใหม่ว่า แบกคันทีส(Bacchantes) เช่นกัน ซึ่งภาพของเทพองค์นี้ก็มักจะเป็นภาพที่แสนประหลาดกว่าเทพองค์อื่นๆ เพราะจะเห็นเป็นชายหนุ่มรูปงามที่แวดล้อมไปด้วยผู้หญิงบ้าตามติดไปตลอดการเดินทาง
เมื่อกล่าวถึงเรื่องราวความรักของไดโอนิซัส ก็มีอยู่บ้างแต่มักเป็นความรักที่ไม่ได้ลงเอยด้วยความสุขเสียเท่าไร กล่าวคือ ตอนที่ไดโอนิซัสไปพบกับอาริแอดนี่ (Ariadne) ธิดาเจ้ากรุงครีตที่มีนามว่าท้าวไมนอส และได้ช่วยเหลือนางเอาไว้ เรื่องราวเริ่มต้นจากที่ท้าวไมนอสได้เลี้ยงอสูรร้ายตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า มิโนทอร์ เอาไว้ใต้ดิน และเมื่อวีรบุรุษธีลิอัสได้เดินทางไปยังครีต ก็ได้ตกเป็นเหยื่อแก่มิโนทอร์ อาริแอดนี่เองก็เกิดมีใจหลงรักกับเจ้าชายหนุ่ม จึงพยายามหาทางช่วยเหลือ และสามารถพาหนีออกเกาะครีตได้สำเร็จ แต่ทว่านางอาริแอดนี่กลับถูกทอดทิ้งเอาไว้อย่างเดียวดายบนเกาะร้างแห่งหนึ่งเพียงลำพัง ซึ่งพอดีที่ไดโอนิซัสผ่านไปพบเข้า จึงเกิดความสงสารและหลงรักนาง แต่ความรักที่มีก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะสุดท้ายนางอาริแอดนี่ก็สิ้นชีวิตลงในที่สุด ทำให้ไดโอนิซัสรู้สึกเสียใจอย่างหนัก และไม่คิดจะไม่มีรักใหม่อีกเลย
ส่วนชีวิตของไดโอนิซัสเองนั้นก็แสนเศร้าพอๆ กับความรักของตัวเอง เพราะคงไม่มีใครคิดหรอกว่า เทพไดโอนิซัสผู้มีกายเป็นอมฤตภาพ จะมีโอกาสสิ้นใจตายได้เช่นกัน เรื่องเล่านี้ถูกถ่ายทอดโดยนักกวีชาวกรีกโบราณที่เขียนขึ้นตามความเป็นจริงของต้นองุ่น เรื่องเล่ามีอยู่ว่า
เมื่อถึงฤดูกาลเก็บองุ่น ชาวบ้านจะตัดเอากิ่งองุ่นที่เคยติดเต็มต้นออกไปหมด และเหลือเอาไว้แต่เพียงต้นองุ่นเดี่ยวๆ ซึ่งมองดูน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะเห็นเพียงลำต้นลุ่น ๆ ปราศจากกิ่งก้านสาขา แต่เพียงไม่นาน ต้นองุ่นก็จะค่อย ๆฟื้นตัวก และแตกแยกกิ่งก้านและใบออกมาใหม่อย่างสวยงาม และต่อจากนั้นไม่นานก็จะผลิดอกออกผลมาเป็นที่เจริญตาอย่างยิ่ง ซึ่งก็เปรียบเหมือนตามตำนานของเทพไดโอนิซัส กล่าวคือ เทพไดโอนิซัสเคยถูกยักษ์เผ่าวงศ์ไทแทนรุมทำร้ายอย่างโหดร้ายน่าสยองขวัญ ไดโอนิซัสถูกยักษ์ฉีกร่างออกเป็นชิ้น ๆ เปรียบดั่งต้นองุ่นที่ถูกตัดกิ่งก้านสาขา แต่ไม่นานนัก เทพไดโอนิซัสก็สามารถฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้ง และในเวลาที่เธอฟื้นขึ้นมาจากความตายนี่เอง ที่ทำให้ทั้งเทวดาและมนุษย์ต่างพาก็ชื่นชมยินดี และร่วมจัดงานเฉลิมฉลองกันอย่างรื่นเริงเพื่อรับขวัญกันอย่างเอิกเกริก ซึ่งการฟื้นจากความตายครั้งนี้ก็เพราะไดโอนิซัสได้ช่วยเหลือจากมารดาที่เธอไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน ให้สามารถรอดพ้นจากเงื้อมือของยมเทพได้ และนำเธอขึ้นไปสถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นโอลิมปัสได้อย่างปลอดภัย
เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อ เทพไดโอนิซัสได้พยายามติดตามหามารดาไปจนถึงปรโลก ซึ่งเมื่อได้พบแล้ว เธอก็พยายามขอมารดาคืนจากยมเทพฮาเดส แต่มัจจุราชก็ไม่ยินยอมที่จะคืนให้ ทำให้เกิดปากเสียงโต้เถียงกันขึ้น ว่าใครนั้นมีอำนาจที่เหนือกว่า ไดโอนิซัสเปล่งวาจาออกไปคำเดียวว่า ตนนั้นมีอำนาจที่เหนือกว่ามัจจุราช เพราะสามารถจะตายและฟื้นคืนชีพได้อีก ซึ่งไม่เคยมีเทพองค์ใดสามารถทำได้อย่างไดโอนิซัสเลย ซึ่งเทพฮาเดสก็เห็นด้วยตามคำพูดของไดโอนิซัส จึงยอมปล่อยตัวนางสิมิลีให้แก่บุตรชายและปล่อยให้พาตัวออกจากแดนบาดาลไปอย่างปลอดภัย จากนั้น เทพไดโอนิซัสก็ได้พาตัวมารดากลับขึ้นสวรรค์ชั้นโอลิมปัส โดยมีเหล่าเทพน้อยใหญ่คอยต้อนรับนางสิมิลีเป็นอย่างดี และนางสีมิลีก็เป็นหญิงอมตะผู้เดียวที่สามารถอาศัยอยู่ท่ามกลางเหล่าเทพทั้งปวง โดยที่ฮีร่าเทวีไม่สามารถทำร้ายอะไรนางได้อีกต่อไป
เทพไดโอนิซัส (Dionysus) หรือ Dionysos หรือ Bacchus ในเทพนิยายกรีกและโรมัน ถือเป็นทั้งเทพเจ้าแห่งไวน์ รวมถึงเป็นเทพผู้นำความเจริญด้านอารยธรรม(Civilization) , ผู้กำหนดกฏระเบียบ(Lawgiver) , ผู้รักในสันติภาพ (Lover of Peace) และเป็นผู้รวบรวมเอาความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร (Agriculture) มาไว้ด้วยกัน และยังเป็นเทพที่มีความสำคัญในการละคร (Theater) ด้วย และในบางแห่งก็ขนานนามเทพองค์นี้ว่า “The god of cats and savagery” หรือ “เทพแห่งเหล่าหญิงเลวและคนป่าเถื่อน”
สัญลักษณ์แห่งเทพไดโอนิซัส ก็คือ วัวตัวผู้(Bull), งูใหญ่(Serpent), ต้นไอวี่ และไวน์ (The ivy and wine) และมีพาหนะเป็นเสือดาว ดังจะเห็นภาพของไดโอนิซัสที่มักจะออกมาในรูปของเทพผู้ขี่เสือดาว (Leopard) สวมใส่อาภรณ์เป็นหนังเสือดาว หรืออาจเป็นเทพผู้ทรงราชรถที่ถูกชักลากโดยเสือดำ(Panthers)
มีวันหยุดมากมายรออยู่ข้างหน้าและแหล่งข้อมูลนี้สามารถช่วยทำของขวัญให้ญาติของคุณได้ หลายคนมีงานอดิเรกมากมาย ตั้งแต่ไนท์คลับและบาร์ไปจนถึงฟุตบอล ฉันมีคาสิโนออนไลน์ sbobet บทวิจารณ์เชิงบวกจำนวนมากและลูกค้าที่พึงพอใจนับพันคือการประเมินไซต์นี้ของฉัน
ตอบลบ